วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฏี Elliott Wav

ทฤษฏี Elliott Wave  สร้างขึ้นโดย Ralph Nelson Elliott ซึ่งเขาได้พัฒนามาทฤษฎีนี้มาจาก Down Theory
โดยเนื้อหาบทสรุปของทฤษฎีนี้คือ Pattern ของราคาหุ้นมันจะมีพฤติกรรมเป็นลักษณะลูกคลื่น ซึ่งสามารถแจง
รายละเอียดในหลักการได้ดังนี้
ถ้ามีแรงกระทำย่อมมีแรงโต้ตอบ ซึ่งอนุมานในการเล่นหุ้นคือ เมื่อหุ้นมีขึ้น
มันก็ต้องมีลง และเมื่อมันลงถึงจุดนิ่งแล้ว มันก็พร้อมที่จะขึ้นในรอบต่อไป
ซึ่งภาษานักวิเคราะห์หุ้นทั้งหลายเขาเรียกว่าหุ้นรีบาวน์ ( rebound ) 
และหุ้นปรับฐาน ( retrace )
Elliott Wave ประกอบด้วยลูกคลื่นในขาขึ้น 5 ลูก ( 1-2-3-4-5)  และลูกคลื่น
ในขาลง 3 ลูก (a-b-c) ในช่วงขาขึ้นเราเรียกว่า Impulse ส่วนขาลงเราเรียกว่า Correction
ในหนึ่งรอบหรือ cycles ของ Elliott Wave นั้นจะเป็น series ของ impulse และ correction
จากกราฟจะเห็นว่าจุดสูงสุดของรอบจะอยู่ที่คลื่นลูกที่ 5 ส่วนจุดเริ่มต้นคือคลื่นลูกที่ 1 ในช่วงที่หุ้นเป็นขาขึ้น การขึ้นยังไม่แรงเท่าที่ควร เพราะนักลงทุนหรือนักเล่นหุ้นต่างคอยดูเชิงซึ่งกันและกัน ราคาหุ้นก็จะไต่ขึ้นมาที่คลื่นลูกที่ 1 หลังจากนั้น ก็จะมีนักเล่นหุ้นบางกลุ่มที่คอยจังหวะขายหุ้โดยที่หวังกำไรไม่มากนัก หรือ อย่างน้อยก็ขาดทุนไม่มาก ทำให้หุ้นปรับฐาน( retrace ) ลงมาเล็กน้อยที่คลื่นลูกที่ 2
ากราคาหุ้นได้ปรับฐานมาที่คลื่นลูกที่ 2 แล้ว ในช่วงนี้เอง volume การซื้อขายเริ่มมากขึ้น ทำให้นักเล่นหุ้นอื่นๆมองเห็นแนวโน้มทิศทางของหุ้นตัวนี้ จึงเริ่มเข้าซื้อหุ้นด้วย volume ที่มาก ทำให้ราคาหุ้นปรับตัว ( rebound ) สูงขึ้นมาก โดยทฤษฏีแล้ว คลื่นลูกที่ 3 จะเป็นคลื่นลูกที่สูงที่สุด
ราคาหุ้นปรับตัวมาที่คลื่นลูกที่ 3 ทำให้นักเล่นหุ้นมีกำไรเป็นกอบเป็นกำ จึงเริ่มทะยอยขายหุ้นออกมา ราคาหุ้นก็เริ่ม retrace มาที่คลื่นลูกที่ 4 การปรับฐานของราคาหุ้นมาที่คลื่นลูกที่ 4 นี้ ดูเหมือนว่ามันน่าจะหยุดขึ้นต่อไป แต่ทั้งนี้ยังมีนักเล่นหุ้นบางกลุ่มที่ตกขบวนรถไฟ และยังมีความเชื่อว่าหุ้นตัวนี้สามารถวิ่งต่อได้ จึงเข้าไล่ซื้ออีกรอบหนึ่ง  ทำให้หุ้นสามารถวิ่งต่อไปได้จนถึงคลื่นลูกที่ 5 แต่โดยพฤติกรรมแล้ว คลื่นลูกที่ 5 จะมีขนาดสั้นกว่าลูกที่ 3 เนื่องจากความกล้าๆกลัวๆของนักเล่นหุ้นทำให้ตัดขาย หรือทำกำไรเพียงเล็กน้อยก็เพียงพอแล้ว
.เมื่อราคาหุ้นปรับตัวมาที่จุดสูงสุดคือคลื่นลูกที่ 5 แล้ว และมีการขายทำกำไรกันออกมา ทำให้ราคาหุ้นปรับฐานลงมาที่คลื่น a, การขายรอบนี้นักเล่นหุ้นจะประสานเสียงหรือร่วมมือร่วมใจกันขายหุ้นออกมาปริมาณมาก หรือบางครั้งเกิด panic เล็กๆ เมื่อหุ้นปรับฐานมาที่คลื่น a นักเล่นหุ้นบางคนจะมองว่าราคาหุ้นมันถูกลงจึงเข้าซื้อทำให้ราคาหุ้น rebound เล็กน้อยไปที่คลื่นลูกที่ b แต่การขึ้นครั้งนี้มันขึ้นไม่แรง เพราะมันยังไม่สามารถเอาชนะใจคนอื่นๆได้ พอขึ้นไม่แรงก็ขายดีกว่า ทำให้มีการขายหุ้นกันออกมาทำให้ราคาหุ้นปรับฐานลงที่คลื่น c
หลังจากจบคลื่น c แล้วก็ถือว่ามันครบรอบหรือ cycle ของหุ้นอย่างสมบูรณ์ ผมขอทวนนะครับ คลื่น Elliott Wave ประกอบด้วยหุ้นขาขึ้น ( impulse) คลื่นลูกที่ 1,2,3,4,5 ส่วนหุ้นขาลง ( correction ) มีคลื่นลูก a,b,c
การเข้าใจพฤติกรรมของหุ้นโดยอาศัยหลัก Elliott Wave จะทำให้เรารู้สถานะและแนวโน้มของมัน ทำให้เรามีความมั่นใจมากขึ้นในการ trade
จากที่กล่าวข้างต้นเป็นเพียง Basic Concept เท่านั้น แต่มันยังมีความซับซ้อนมากกว่านี้ โดยที่หุ้นขาขึ้นลูกที่ 1,2,3,4,5 สามารถรวบเป็นคลื่นลูกที่ 1 และหุ้นขาลง a,b,c สามารถรวบเป็นคลื่นลูกที่ 2 ได้ เช่นกราฟด้านล่าง


การที่หุ้นมัน rebound หรือ retrace นั้น ถามว่ามันจะขึ้นไปถึงไหน และ มันจะลงมาถึงไหน ตรงจุดนี้ก็มีทฤษฎีที่อธิบายได้เช่นกันนั่นคือ Fibonacci Numbers ซึ่งเป็นเนื้อหาที่สามารถเขียนเป็นหนังสือหรือคู่มือเป็นเล่มหนาประมาณ 1 นิ้วได้ ซึ่งผมไม่สามารถนำมาอธิบายในที่นี้ได้ แต่ก็ขอนำเอาผลของมันมาใช้เลยดีกว่าครับ
Fibonacci Numbers เป็นตัวเลขที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับธรรมชาติ เป็นตัวเลขที่เรียกได้ว่ามหัศจรรย์เลยทีเดียว ตัวเลขที่เราสามารถนำมาใช้ได้เลยมีดังนี้
เราลองมาดูตัวอย่าง Fibonacci Numbers ที่ใช้ใน Meta Stock กันดูบ้าง
จากกราฟราคาหุ้นข้างต้น เป็นตัวอย่างจริงของหุ้น BBL เมื่อราคาหุ้นมันขึ้นจากจุดที่ 1 ไปจุดที่ 2 และมันก็ปรับฐาน retrace ลงมา ทีนี้หากเราไม่มีวิชาติดตัวถามว่าราคาหุ้นมันควรจะลงมาเท่าไหร่ก็ไม่สามารถจะคาดคะเนได้ แต่หากเรามีวิชาติดตัว คุณคงบอกได้นะครับว่าแนวรับมันควรจะอยู่ที่ไหน
ถ้าเราใช้ Meta Stock เราก็จะได้แนวรับหลายระดับได้แก่ แนวรับที่ 23.6% ,  38.2%,  50.0%,  61.80% ในที่นี้แนวรับมันหยุดที่ 50% ที่ราคาใกล้ๆ 48 และหลังจากนั้นมันก็ rebound ขึ้นต่อไป โดยที่ตัวเลขแนวรับที่เกิดขึ้น Meta Stock จัดการให้ทั้งหมด
แน่นอนครับเราคงไม่ได้ใช้เจ้า Fibonacci Numbers เพียงอย่างเดียวมาวิเคราะห์หุ้น ถ้าจะให้ดีเราควรนำเอา indicators ตัวอื่นๆมาวิเคราะห์ด้วยเช่นกัน ซึ่ง indicators พวกนี้ศึกษาได้จากหนังสือที่เกี่ยวกับ technicalanalysis ได้หลายเล่มในท้องตลาด
ตัวอย่างข้างล่างเป็นการนำเอา indicator เช่น MACD ( Oscillator ) มาประกอบในการวิเคราะห์ เพื่อหาว่าคลื่นของ ELLIOTT มันวิ่งไปถึงคลื่นลูกที่ 5 หรือยัง ซึ่งจะสังเกตุเห็นว่าเส้นสีแดงที่ลากเชื่อมระหว่างจุด 3 และ 5 มีทิศทางขึ้น ในขณะที่เส้นแดงที่ลากเชื่อมระหว่างจุดยอดของ MACD มีทิศทางลง ลักษณะนี้เรียกว่าเกิด divergence คือมันมีทิศทางสวนทางกัน เช่นนี้ก็จะสามารถ forecast ได้ว่ากราฟหุ้นได้มาถึงจุดสูงสุดคลื่นลูกที่ 5 แล้ว


การนำ Elliott Wave มาวิเคราะห์หุ้นนั้นนับว่ามันมีประโยชน์มากทีเดียว แต่เชื่อหรือไม่ครับว่า คนสิบคนกำหนดหรือสร้าง Elliott Wave ไม่เหมือนกันคือ บางคนระบุราคาหุ้นตอนนั้นเป็นคลื่นลูกที่ 3 แต่บางคนก็ระบุเป็นคลื่นลูกที่ 5 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และเครื่องมือที่นำมาประกอบการวิเคราะห์ ถึงแม้ว่ากราฟมันจะเป็นคลื่นลูกที่ 3 หรือ 5 ก็ตาม พฤติกรรมตอนนั้นก็คือ กราฟวิ่งขึ้นไปสู่ยอดกราฟเหมือนกัน
สิ่งสำคัญที่ขอเน้นนะครับคือ ไม่ว่าเราจะมีเครื่องมือที่ดีเลิศอะไรก็ตาม แต่สิ่งสำคัญเหนืออื่นใดคือ DISICIPLINE อย่าลืมนะครับ discipline ต้องยึดมั่นให้ดีแล้วคุณจะประสบความสำเร็จ
บทความจาก  http://www.richerstock.net

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มูลค่าที่แท้จริง : PE Ratio

มูลค่าที่แท้จริง : PE Ratio 

มนตรี นิพิฐวิทยา 
เครื่องมือในการประเมินมูลค่าของหุ้น แบบง่ายๆ แต่ค่อนข้างใช้ได้ผลทีเดียวเลยนั้นเห็นจะหนีไม่พ้นการประเมินค่า PE และ PB Ratio 

ไม่ว่านักลงทุนทั่วไป นักวิเคราะห์ต่างๆ ก็นิยมใช้ PE Ratio เป็นตัวประเมินค่า เพื่อหาราคาเป้าหมายของหุ้นนั้นๆ จะเห็นได้ว่าค่า PE นั้นได้ถูกใช้กันอย่างกว้างขวาง ยาวนานมาโดยตลอด 

ถ้าเรามาดูว่าอัตราส่วนราคาต่อกำไรคืออัตราส่วนอะไร และมีที่มาที่ใช้อย่างไรก็คงจะยังไม่น่าจะล้าสมัยไปนักนะครับ 

อัตราส่วนราคาต่อกำไร(PE Ratio)ของหุ้นคือ อัตราส่วนของราคาหุ้นที่ซื้อขายในปัจจุบัน กับกำไรต่อหุ้นที่เราต้องการวิเคราะห์ อัตราส่วนนี้จะบอกว่าราคาหุ้นปัจจุบันนั้นเมื่อเทียบกับกำไรต่อหุ้นนั้นมีค่าเท่าไร เช่น หุ้นราคา 10 บาท กำไรต่อหุ้น 1 บาท PE = 10 หรือจะแปลความหมายได้ว่า ถ้าเราซื้อหุ้นบริษัทนี้เราจะต้องจ่ายเงินไปล่วงหน้าถึง 10 เท่า หรือต้องรอให้บริษัททำกำไรคืนให้เราสิบเท่า ถ้าหากว่าบริษัทนั้นทำกำไรปีละ 1 บาท ไปเรื่อยๆ เราต้องรอถึงสิบปี หลังจากสิบปีไปแล้วเราถึงจะได้กำไร หรือคืนทุนใน 10 ปีนั่นเอง แต่ถ้าหากว่าบริษัทนั้นทำกำไรได้รวดเร็วขึ้น เราอาจไม่ต้องรอถึงสิบปีก็ได้ 

ที่นี้ถ้า PE Ratio เท่ากับ 6 เท่า ก็เท่ากับว่าเราจะคืนทุนใน 6 ปีและหลังจากนั้นเราจะได้กำไรแล้ว แต่แล้วเรามองอย่างนี้ก็ไม่เห็นว่ามันจะบอกอะไรเรามาก แต่อัตราส่วนนี้จะบอกเราได้ว่าหุ้นที่เราซื้อนี่ถูกหรือแพง เช่น หุ้นที่มี PE Ratio เท่ากับ 10 จะแพงกว่าหุ้นที่ PE Ratio เท่ากับ 6 ครับ ไม่ใช่แค่ว่ารอนานกว่ากันเท่านั้น แต่หุ้นที่มี PE Ratio ต่ำกว่าจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า เช่น หุ้น PE Ratio เท่ากับ 10 จะให้ผลตอบแทนคาดหวังเท่ากับ 10% แต่หุ้นที่มี PE Ratio เท่ากับ 6 จะให้ผลตอบแทน 16.67% ดังนั้นจึงเป็นคำตอบว่า ทำไมหุ้น PE ต่ำจึงถูกกว่าหุ้น PE สูง 

ดังนั้น เวลาเราจะลงทุนซื้อหุ้นเราก็ควรจะชายตาไปมองเจ้า Ratio ด้วยครับ มิเช่นนั้นท่านอาจได้หุ้นที่PE Ratio เท่ากับ 30 เท่า หรือ ให้ผลตอบแทนคาดหวังเพียง 3.33% และมีของแถมเป็นความเสี่ยงที่สูงอย่างไม่น่าเชื่อ 

หุ้นที่มี PE Ratio สูงๆ นั้นจะบอกให้เราทราบได้สองอย่างครับ คือ หุ้นนั้นแพงมากๆ อาจเป็นเพราะนักลงทุนกำลังใจกล้าไล่ซื้อหุ้นนั้นกันอย่างเมามันไปกับข่าวดีของบริษัท หรือกิจการของบริษัทนั้นเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งและมีอนาคตที่สดใสมากๆ อย่างแรกนั้นค่อนข้างอันตราย เพราะความไม่แน่นอนของข่าวสูงมาก ในตลาดบ้านเราก็เคยเห็นเมื่อไม่นานมานี้เอง สุดท้ายราคาก็ปรับตัวเข้าหาพื้นฐานที่แท้จริงในที่สุด ส่วนกรณีหลัง เราในฐานะนักลงทุนต้องตรวจสอบผลประกอบการ ตรวจสอบความเป็นไปได้ว่าการเติบโตที่ว่านั้นจริงหรือเทียม 

สำหรับหุ้นที่ PE Ratio ต่ำนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า หุ้นนั้นๆ ถูกทีเดียวเลย ถ้าหุ้นนั้นมีPE Ratioต่ำก็จริง แต่บริษัทไม่มีการเติบโตเลย หุ้นบริษัทนั้นก็ไม่จัดว่าถูก แต่ถ้ามีการเติบโตดีแต่ยังไม่มีใครให้ความสนใจอยู่ละก็ เป็นโอกาสของคุณแล้วครับ บางบริษัท PE Ratio ต่ำแต่ค่า PB Ratio สูงมากอันนี้ต้องระวังเช่นกัน เพราะเราซื้อสินทรัพย์ที่เอามาสร้างผลกำไรในอัตราที่สูงมากเกินไปหรือเปล่า เช่น PB Ratio เท่ากับ 4 เท่า นั่นคือถ้าเราต้องการสร้างธุรกิจนี้เองเราจ่ายแค่ 1 แต่ถ้าต้องการซื้อธุรกิจของบริษัทนี้เราต้องจ่ายเงินสูงถึงสี่เท่า ถ้าเป็นธุรกิจที่เข้มแข็ง มีความสามารถในการแข่งขันที่คงทน ไม่ขึ้นลงเป็นรอบๆ ก็น่าสนใจครับ 

เราอาจจะใช้ PE Ratio คู่กับ PB Ratio เพื่อค้นหาหุ้นที่ถูกในเชิงตัวเลขก่อนก็ได้ครับ แต่ที่ขาดไม่ได้เลย เราต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐานของกิจการให้ลึกซึ้งอยู่ดี เราจะได้เข้าใจถึงอัตราการเติบโตที่แท้จริง เข้าใจว่าในระยะเวลาที่เรากำลังรอให้บริษัททำกำไรจนคืนเงินทุนที่เราลงไปได้นั้น บริษัทจะมีความแข็งแกร่งพอที่จะทำกำไรคืนให้เรา หรือ มีกำไรตอบแทนให้เรามากกว่าที่คาดเอาไว้ 

ที่ขาดเสียไม่ได้จริงๆ คือ เราต้องตรวจสอบงบการเงินของบริษัทด้วยครับ ว่ากำไรที่แสดงนั้นเป็นกำไรแท้หรือกำไรเทียม มีการซ่อนต้นทุนเอาไว้หรือไม่ มีการรับรู้รายได้มากกว่าที่ควรจะเป็นหรือไม่ ทั้งหมดนี้ตรวจดูได้จากงบการเงินและหมายเหตุประกอบงบการเงินครับ 

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

นโยบายเงินปันผล ( Dividend Policy )

นโยบายเงินปันผล ( Dividend Policy )
หุ้นสามัญเป็นหลักทรัพย์แสดงความเป็นเจ้าของกิจการ ผู้ถือหุ้นสามัญจะมีฐานะเป็นเจ้าของกิจการ จึงมีสิทธิได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล ( Dividend ) เมื่อมีการประกาศจ่าย และได้รับส่วนเกินจากราคาซื้อขาย ( Capital Gain ) เมื่อขายหุ้นออกไป
ผู้ลงทุนในหุ้นสามัญส่วนใหญ่ลงทุนเพราะมุ่งหวังจะได้รับผลกำไรของกิจการ ซึ่งจะได้รับจากการจ่ายเงินปันผล เมื่อมีการประกาศจ่ายเงินปันผลไปแล้ว กิจการจะต้องจ่ายเงินปันผล ตามที่ประกาศไว้ในรูปของเงินสดปันผล หรือหุ้นปันผลก็ได้
นโยบายการจ่ายเงินปันผล แบ่งได้ 3 ประเภท

1. จำนวนเงินปันผลต่อหุ้นคงที่ ( Stable Amount Pershare ) : กิจการจะจ่ายเงินปันผลต่อหุ้นเป็นจำนวนเงินแน่นอน เช่น จ่ายปันผลหุ้นละ 2 บาท หรือ 3 บาท เป็นต้น กิจการที่จ่ายปันผลเช่นนี้ได้จะต้องมีผลกำไรที่คอ่นข้างแน่นอน และมีฐานะการเงินมั่นคง
2. อัตราการจ่ายเงินปันผลคงที่ ( Constant Layout Ratio ) : กิจการจะกำหนดจำนวนเงินปันผลเป็นอัตราส่วนกับกำไรที่กิจการได้รับในปีนั้นๆ เช่น กำหนดจ่ายปันผล 50% ของกำไรสุทธิ ถ้าบริษัทมีหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายทั้งหมด 200,000 หุ้นปี 2544 บริษัทมีกำไรสุทธิ 200,000 บาท กำไรสุทธิต่อหุ้น เท่ากับ 1 บาท ต้องจ่ายเงินปันผลหุ้นละ 0.50 บาทปี 2545 บริษัทมีกำไรสุทธิ 400,000 บาท กำไรสุทธิต่อหุ้น เท่ากับ 2 บาท ต้องจ่ายเงินปันผลหุ้นละ 1.00 บาทดังนั้น วิธีนี้จำนวนเงินปันผลจึงไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามกำไรสุทธิของกิจการ ถ้ากิจการมีกำไรมากก็จ่ายปันผลมาก ถ้ากิจการมีกำไรน้อยก็จ่ายปันผลน้อย

3. จำนวนเงินปันผลปกติขั้นต่ำบวกเงินปันผลพิเศษ ( Low Regular and Extra Dividend ) : กิจการจะจ่ายเงินปันผลจำนวนหนึ่งที่แน่นอน และหากปีใดกิจการมีกำไรเกินกว่าปกติ กิจการก็จะจ่ายเงินปันผลเพิ่มพิเศษให้อีกจำนวนหนึ่ง เช่น กำหนดว่าทุกปีจ่ายเงินปันผลอย่างน้อยหุ้นละ 10 บาท แต่หากปีใดมีกำไรมากก็จะจ่ายเพิ่มพิเศษให้ปี 2540 บริษัทมีกำไรสุทธิ 300,000 บาท จ่ายปันผลหุ้นละ 10 บาทปี 2541 บริษัทมีกำไรสุทธิ 400,000 บาท จ่ายปันผลหุ้นละ 15 บาท ( 10 + 5 )ปี 2542 บริษัทมีกำไรสุทธิ 500,000 บาท จ่ายปันผลหุ้นละ 18 บาท ( 10 + 8 )
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายเงินปันผล
1. ข้อกำหนดตามกฎหมาย ซึ่งกำหนดไว้ว่า บริษัทจะจ่ายเงินปันผลจากกำไรในปีปัจจุบันหรือในอดีตก็ได้ ( กำไรสะสม ) โดยการจ่ายปันผลทุกครั้งจะต้องมีการจัดสรรกำไรส่วนหนึ่ง ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น ร้อยละ 5 ของกำไร ไว้เป็นทุนสำรองตามกฎหมายด้วย
2.สภาพคล่อง เป็นปัจจัยที่สำคัญในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจ่ายปันผล ถ้าหากฐานะเงินสดของธุรกิจและสภาพคล่องของธุรกิจดีก็สามารถจ่ายเงินปันผลได้ หากธุรกิจกำลังขยายกิจการ อาจจะไม่มีสภาพคล่อง เนื่องจากต้องนำเงินสดไปลงทุนในสินทรัพย์ถาวรต่างๆ จึงต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจจ่ายปันผล
3. ความสามารถในการกู้ยืม ถ้าธุรกิจมีความสามารถในการกู้ยืมสูง ทำให้ธุรกิจไม่จำเป็นจะต้องเก็บรักษาเงินสดไว้มาก ดังนั้นธุรกิจมีสามารถในการจ่ายปันผลได้สูง
4. เสถียรภาพของกำไร ถ้าหากกำไรที่ธุรกิจทำได้สม่ำเสมอ ก็สามารถที่จะพยากรณ์ได้ล่วงหน้าถึงกำไรที่จะได้ พร้อมทั้งสามารถที่จะจ่ายปันผลในอัตราส่วนที่มากและสูงกว่าธุรกิจที่มีกำไรไม่แน่นอน
5. ความจำเป็นในการชำระหนี้ ถ้าธุรกิจเลือกนำเงินไปชำระหนี้ก็ต้องมีการกันเงินจากกำไรไว้ เพื่อนำไปชำระหนี้ ดังนั้นจึงทำให้ไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ หรือจ่ายได้ก็เป็นจำนวนน้อย
6. ข้อจำกัดในสัญญาเงินกู้ ซึ่งมักจะมีข้อความดังนี้- การจ่ายปันผลจะทำได้เฉพาะจากกำไรที่เกิดขึ้นหลังวันลงนามในสัญญาจะไปเอากำไรสะสมปีก่อนมาจ่ายปันผลไม่ได้- บริษัทจะไม่จ่ายปันผล ถ้าหากเงินทุนหมุนเวียนสุทธิต่ำกว่าระดับที่กำหนดไว้- การออกหุ้นกู้หรือการกู้เงินมา อาจมีข้อตกลงในการจำกัดจำนวนการจ่ายเงินปันผลการจำกัดจำนวนเงินปันผลจ่ายนี้ก็เพื่อจะเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้คืน
7. การควบคุม ในบางครั้งธุรกิจจะกำหนดนโยบายเพื่อที่จะขยายกิจการเท่ากับจำนวนเงิน กำไรที่กันไว้ในรูปกำไรสะสมเท่านั้น เพราะการเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นสามัญจะทำให้อำนาจการควบคุมและส่วนได้เสียในบริษัทของผู้ถือหุ้นเดิมเปลี่ยนแปลงไป หรือการก่อหนี้อาจทำให้มีความเสี่ยงทางการเงินสูงขึ้น
8. ฐานะทางภาษีของผู้ถือหุ้น เงินปันผลที่ได้รับถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี ถ้าผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ของบริษัทจะต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราที่สูงก็ย่อมพอใจที่จะให้คงกำไรไว้ในรูปกำไรสะสม ซึ่งมีผลทำให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญนั้นสูงขึ้น ผู้ถือหุ้นจะได้รับกำไรจากการขายหุ้น ( Capital Gain ) ซึ่งทำให้พอใจมากกว่ารับรายได้ในรูปของเงินปันผล เพราะอัตราภาษีที่เก็บจากเงินปันผลจะสูงกว่าอัตราภาษีที่เก็บจากกำไรจากการขายหุ้น
9. ภาวะเงินเฟ้อ โดยทั่วไปผู้ถือหุ้นต้องการรับเงินปันผลในปัจจุบันมากกว่าที่จะรอรับในอนาคตเพราะเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น จะทำให้ค่าของเงินลดลงตามกาลเวลา
10. อัตราการขยายตัวของสินทรัพย์ หากกิจการมีการขยายตัวสูง ต้องใช้เงินทุนมากกิจการจะต้องกันเงินกำไรไว้ในรูปของกำไรสะสมจำนวนมาก ทำให้จ่ายเงินปันผลได้น้อยลง
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ประเภทของการจ่ายปันผล
1. เงินสดปันผล ( Cash Dividend ) : เงินสดปันผลจะจ่ายจากกำไรสะสม การที่จะจ่ายได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณเงินสดที่กิจการถืออยู่ว่ามีเพียงพอหรือไม่ การจ่ายเงินสดปันผลจะทำให้ในงบดุลมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านสินทรัพย์( เงินสดลดลงตามจำนวนปันผลที่จ่าย)และด้านหนี้สินและทุนก็ลดลงเช่นกัน ( กำไรสะสมลดลงตามจำนวนปันผลที่จ่าย )

2. หุ้นปันผล ( Stock Dividend ) : เป็นการจ่ายปันผลในรูปของหุ้นสามัญออกใหม่ ซึ่งเรียกว่า หุ้นปันผล ซึ่งจะกำหนดจำนวนหุ้นที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถืออยู่ เช่น การจ่ายหุ้นปันผลร้อยละ 10 หมายความว่า ผู้ถือหุ้นอยู่ 100 หุ้น จะได้รับหุ้นปันผล 10 หุ้น นั่นคือ กิจการจะต้องจดทะเบียนเพิ่มทุน โดยมีจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 10 การจ่ายหุ้นปันผลไม่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าส่วนเจ้าของในงบดุล แต่จำนวนกำไรสะสมจะลดลง ในขณะที่มูลค่าหุ้นสามัญจะเพิ่มขึ้นในจำนวนที่เท่ากัน
ข้อดีของการจ่ายหุ้นปันผล- ช่วยประหยัดเงินสดให้ธุรกิจ เพื่อใช้ในโครงการลงทุนอื่นในอนาคต โดยไม่ต้องจัดหาเงินทุนเพิ่มเติมจากแหล่งภายนอก- ทำให้ผู้ถือหุ้นที่มีรายได้สูงเกิดความพอใจ เพราะถ้าผู้ถือหุ้นมีรายได้สูงจะเสียภาษีสูงด้วย- ช่วยบริษัทที่ประสบปัญหาทางการเงิน- ทำให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญไม่สูงเกินไป
ข้อเสียของการจ่ายหุ้นปันผล- ค่าใช้จ่ายในการจ่ายหุ้นปันผลค่อนข้างสูง- ทำให้กำไรต่อหุ้นลดลง- ราคาตลาดของหุ้นลดลง

3. การแยกหุ้น ( Stock Splits ) : การจ่ายปันผลวิธีนี้ จะทำให้จำนวนหุ้นสามัญที่ผู้ลงทุนถือหุ้นอยู่มีจำนวนมากขึ้น เช่น แยกหุ้นจาก 1 เป็น 10 หมายความว่า ผู้ถือหุ้นเดิมจะได้รับหุ้นเพิ่มขึ้น 9 หุ้น ต่อหุ้นที่ถืออยู่ 1 หุ้น โดยมูลค่าที่ตราไว้จะลดลงเหลือ 1/10 ด้วย คือหากมูลค่าเดิมที่ตราไว้ 100 บาทต่อหุ้น เมื่อแยกหุ้นแล้วจะเท่ากับ 10 บาทต่อหุ้น การแยกหุ้นไม่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าส่วนของเจ้าของในงบดุล จำนวนกำไรสะสมและมูลค่าหุ้นสามัญรวมยังคงเดิม เพียงแต่จำนวนหุ้นจะมากขึ้นและมีราคามูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้นลดลงวิธีการแยกหุ้นนี้ จะสร้างความพอใจแก่ผู้ถือหุ้น เพราะเมื่อบริษัทมีกำไรมาก การจ่ายปันผลสูง และมีความเจริญเติบโตในอัตราที่ดีแล้ว ทำให้ราคาตลาดของหุ้นอยู่ในระดับที่สูงมาก

4. การซื้อหุ้นกลับคืน ( Stock Pepurchase ) : การที่ธุรกิจนำเงินกำไรส่วนที่เก็บไว้ในรูปกำไรสะสมหรือเงินที่ได้จากการก่อหนี้ไปซื้อหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายแล้ว ทำให้หุ้นสามัญมีจำนวนน้อยลง ถ้าปัจจัยอื่นคงที่และสมมติว่าการซื้อหุ้นคืนไม่กระทบต่อความสามารถทำกำไรของธุรกิจ จะทำให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น เมื่อกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญสูงขึ้น ถ้าธุรกิจนำเงินที่เก็บไว้ในรูปกำไรสะสมไปซื้อหุ้นกลับคืน ทำให้การจ่ายเงินปันผลลดน้อยลง แต่ถ้านักลงทุนขายหุ้นจะได้รับกำไรจากการขายหุ้นเนื่องจากราคาตลาดสูงขึ้น กำไรจาการขายหุ้นชดเชยได้พอดีกับเงินปันผลจ่ายที่น้อยลงการซื้อหุ้นกลับคืนจะกระทำเมื่อกิจการมีเงินทุนเหลือใช้เป็นการถาวร หรือต้องการลดจำนวนหุ้นสามัญที่หมุนเวียนในตลาดลง เพื่อทำให้ราคาตลาดหุ้นสามัญสูงอีก หรือเพิ่มอำนาจการควบคุมกิจการ เพื่อป้องกันมิให้ผู้ถือหุ้นขายหุ้นให้กับบริษัทอื่น กิจการสามารถซื้อหุ้นกลับคืนมาได้ หุ้นที่ซื้อคืนนี้ เรียกว่า Treasury Stock

5. การรวมหุ้น ( Reverse Split ) : บริษัทสามารถทำการลดจำนวนหุ้นสามัญลงและเพิ่มมูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้นได้ การลดจำนวนหุ้นลงนี้ทำได้โดยการรวมหุ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นในกรณีที่ราคาตลาดของหุ้นต่ำมาก ธุรกิจก็จะทำการรวมหุ้นเพื่อให้จำนวนหุ้นในมือของผู้ถือหุ้นลดจำนวนลง ราคาตามมูลค่าของหุ้นจะเพิ่มขึ้น อันมีผลทำให้ราคาตลาดของหุ้นสูงขึ้น

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

How to Use Bollinger Bands in Forex and Stock Trading

How to Use Bollinger Bands in Forex and Stock Trading
by Vahid | Forex Basics | Sunday, February 1st, 2009


Bollinger Bands are the second indicators I use after the candlesticks. In fact the combination of candlesticks and Bollinger Bands makes the signals for me.

There are some awesome features in the Bollinger Bands that can not be found in the other indicators. Before talking about the signals lets see what Bollinger Bands are and how they look like. If you don’t have them on your chart, please add them and let the setting to be the default setting which is 20.

ในการใช้ โบลิงเจอร์แบนด์ ให้ใช้คู่กับแท่งเทียนและตั้งค่าไว้ที่ 20

Bollinger Bands are consist of three lines: Bollinger Upper Band, Bollinger Lower Band and Bollinger Middle Band.

โบลิงเจอร์แบนด์ประกอบด้วยเส้นสามเส้นได้แก่ เส้นโบลิงเจอร์แบนด์บน เส้นโบลิงเจอร์แบนด์กลาง และเส้นโบลิงเจอร์แบนด์ล่าง 

Bollinger Middle Band is nothing but a simple moving average. Bollinger Upper and Lower Bands measure deviations. I can bring their formula here but it will not have any usage for your trading. The only thing we should know is that they are so strong in diagnosing the trends and reversals.

เส้นโบลิงเจอร์แบนด์กลางคือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ธรรมดา ขณะที่เ้ส้นเส้นโบลิงเจอร์แบนด์บน และล่างเป็นตัวชี้การเบี่ยงเบน กล่าวโดยสรุปคือ โบลิงเจอร์แบนด์ เอาไว้ใช้ดูเทรนด์และการกลับตัว 

Note: In all the below examples, the Bollinger Band setting is the default setting which is 20 period and 2 deviations.

ด้านล่างเป็นตัวอย่างค่า โบลิงเจอร์แบนด์ ที่ตั้งไว้ที่ 20 และค่าการเบี่ยงเบนที่ 2

โพสต์รูปภาพ

So how can we use Bollinger Bands in trading? What do they tell us and how their signals look like?

วิธีการใช้ในการเทรด

1. Trend Trading:

One of the most important features of Bollinger Bands is that when the market is slow and there is no reasonable volatility, the upper and lower bands become close to each other:

1 เทรดตามเทรนด์
เมื่อตลาดไม่มีการเคลื่อนไหวที่ผันผวนไร้เหตุผลและดำเนินไปอย่างช้าๆเส้นบนและเส้นล่างจะใกล้กัน


โพสต์รูปภาพ

As you see on the above image, Bollinger upper and lower bands have become so close to each other in the area that I have placed those white arrows. Keep in your mind that when the market becomes slow like that and it makes a narrow range a breakout that can be the beginning of a big trend is on the way. You can easily predict the direction of the breakout with the signals that the market already has shown. Just follow the numbers at the above image and you will see what I mean.

จากรูปด้านบนเส้นบนและเส้นล่างจะใกล้กันที่บริเวณลูกศรสีขาว ให้จำไว้ว่าเมื่อตลาดมีการเคลื่อนไหวน้อยอย่างนั้นช่องแบนด์แคบ จะเกิดเป็นจุดเริ่มต้นของเทรนด์ใหญ่ ให้ดูตามลำดับเหตุการณ์ตัวเลขประกอบความเข้าใจ

The candlestick #1 has a long lower shadow. What does that mean? It means a big Bullish pressure is imposed to the market suddenly. So the price wants to go up. This is the first signal. You could take a long position after this candle but if you did not, the market would show you some more signals to go long. 

แท่งเทียนเบอร์ 1 มีไส้เทียนยาวแปลว่ามีแรงซื้อเข้ามาที่ตลาดปริมาณมากอย่างรวดเร็ว ดังนั้นราคาจึงสูงขึ้น นี่คือสัญญาณอย่างแรกในการเข้าซื้อ แต่ถ้าไม่ได้ซื้อให้ ตลาดจะมีการส่งสัญญาณต่อมาให้เข้าซื้อ 

After candle #1, market becomes slow and Bollinger upper and lower bands become so close to each other. Candle #2 shows a breakdown with the Bollinger lower band but it is closed above it. This candle also has a long lower shadow that reflects the upward pressure. 

หลังจากแท่งเทียนเบอร์ 1 ตลาดเริ่มนิ่งและเส้นแบนด์บนและล่างเข้ามาใกล้กัน แท่งเทียนเบอร์ 2 แสดงให้เห็นว่ามีการหลุดไปด้านต่ำกว่าเส้นโบลิงเจอร์แบนด์ ล่างแต่สามารถกลับขึ้นมาปิดเหนือแท่งได้เป็นแท่งที่มีไส้เทียนยาวแสดงให้เห็นว่าเกิดแรงซื้อขึ้น

Then the market becomes slow for several candles BUT candle #3 assures you that the range is broken up. So if you didn’t have a long position, you could go long at the close of #3 candle. Then some red candles are appeared but you should know that after a range breakout, the very first reversal signal is not in fact a reversal signal. It is a continuation signal.

จากนั้นตลาดก็กลับมานิ่งๆอีกหลายแท่งเทียนแต่แท่งเทียนที่สามเป็นตัวยืนยันว่าเกิดการระเบิดของช่วงขึ้นแล้ว ซึ่งถ้ายังไม่ซื้อให้ซื้อหลังจากจบแท่งเทียนที่ 3 ถึงแม้จะมีแท่งเทียนสีแดงเกิดขึ้นแต่ว่าถ้าเกิดการระเบิดของช่วงแล้ว สัญญาณที่ดูเหมือนว่าแสดงการเปลี่ยนเทรนด์ครั้งแรกอาจจะไม่ได้เป็นสัญญาณการเปลี่ยนทิศทางแต่คือสัญญาณการดำเนินต่อของทิศทาง

The above breakout could be the beginning of a big trend but it is not. I just brought it here as an example of ranging and breakout. If the candlesticks movements make you confused, you can shift to the line chart from time to time and find the real support and resistance of the range. Line chart is plotted based on the close signal. Close signal is the most important thing specially when you want to interpret the signals with Bollinger Bands and predict the market. Lets shift to line chart and see how it looks like:

การระเบิดด้านบนเหมือนจะเป็นจุดเริ่มต้นของเทรนด์ใหญ่ได้แต่ก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้น นี่เป็นแค่ตัวอย่างของขอบเขต และการระเบิด แต่ถ้ากราฟแท่งเทียนทำให้สับสนก็ควรจะเปลี่ยนไปดูกราฟเส้นเป็นระยะๆเพื่อหาแนวต้านและแนวรับของช่วงนั้นๆ เพราะกราฟเส้นเกิดจากการพล็อตจุดราคาปิดซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการตีความของสัญญาณโบลิงเจอร์แบนด์และการคาดเดาตลาด ลองดูกราฟเส้นด้านล่างประกอบความเข้าใจ 

โพสต์รูปภาพ

As you see the support and resistance of the range are shown much better in the line chart (blue circles). Numbers 1, 2 and 3 are where the candles #1, #2 and #3 formed on the last image. In the above line chart the range breakout is conformed while candle #3 was forming. The price line goes up, touches and rides the Bollinger Upper Band. This means the range is broken up and we have an uptrend.

จากตัวอย่างขอบเขตแนวรับแนวต้าน(วงกลมสีฟ้า)จะสามารถเห็นได้ชัดกว่าถ้าดูจากกราฟเส้น ตัวเลข 1 2 3 แสดงถึงแท่งเทียนที่ 1 2 3 จากรูปที่แล้ว ในกราฟเส้นด้านบนช่วงการระเบิดของเเบนด์ก็สอดคล้องกันกับแท่งเทียนหมายเลข 3 เส้นราคาขึ้นแตะและวิ่งไปล้อกับเส้นแบนด์บนแปลว่าเกิดการระเบิดของช่วงราคาและเปลี่ยนเป็นเทรนด์ขึ้น

So we learned that the close price is very important when we work with Bollinger Bands. A Bollinger Lower Band is not broken down as long as the candlesticks are closed above it and a Bollinger Upper Band is not broken up as long as the candlesticks are closed below it.

ดังนั้นราคาิปิดจึงสำคัญเมื่อใช้คู่กับโบลิงเจอร์แบนด์ เส้นแบนด์ล่างจะไม่ระเบิดลงถ้าแท่งเทียนปิดบนเส้น และเส้นแบนด์บนจะไม่ระเบิดขึ้นถ้าแท่งเทียนปิดแท่งต่ำกว่าเส้น

Like the Fibonacci system I explained earlier, one of the ways to trade using the Bollinger Bands is finding a range and then waiting for its breakout.

สรุปคือหนึ่งในวิธีการดูเทรนด์โดยการใช้โบลิงเจอร์แบนด์ คือการหาช่วงขอบเขตราคาและรอการระเบิดเลือกทิศทาง 

Bollinger Bands are really good in trend following. Please follow the numbers in the below image. #1 shows a good reversal signal (I will talk about the Bollinger Bands reversal signals later in this article). If I wanted to take a long position I would wait for more confirmation which is the #2 candle. I would go long at the close of #2 candle.
The next a few candles break up the Bollinger Middle Band and the candles after them make a small ranging BUT as you see all of them are closed above the Bollinger Middle Band (zone #3). Some of them tried to break down the Bollinger Middle Band but they couldn’t. What does that mean??? It is another confirmation for the beginning of an uptrend. Zone #3 is the most important part of the below image. More conservative traders prefer to take their long positions after formation of such a confirmation. They go long when the thin red line is broken up (#4). They place the stop loss below the low of the last candle that its shadow is broken down the Bollinger Middle Band. As you see it goes up strongly (first red big arrow). There are some small red candles but they should not be considered as reversal signals. At #5 the price goes down to retest the Bollinger Middle Band. This is the beginning of the second Elliott Wave. It is where some traders wait for the retrace (continuation) to go long. I have explained it in another article I wrote about Fibonacci.

โบลิงเจอร์แบนด์จะใช้ดีมากในการตามเทรนด์ ลองดูตัวเลขตามรูปด้านล่าง เบอร์ 1 แสดงให้เห็นสัญญาณการเปลี่ยนทิศทางที่ชัดเจน ถ้าจะซื้อให้รอสัญญาณการยืนยันที่แท่งเทียนเบอร์ 2 ซึ่งผู้เขียนจะซื้อเมื่อปิดแท่งเทียนเบอร์ 2 เมื่อแท่งเทียนอีกสองสามแท่งต่อมาได้ขึ้นทะลุเส้นแบนด์กลางขึ้นมาและถึงแม้ว่าจะปิดต่ำกว่าเส้นแบนด์บนเล็กน้อยแต่ทุกแท่งก็ปิดเหนือเส้นแบนด์กลางในรูปโซน 3 บางแท่งมีลักษณะความพยายามที่จะกดให้ราคาปิดต่ำกว่าเส้นแบนด์กลางแต่ก็ไม่สามารถทำได้ ซึ่งก็คืออีกสัญญาณที่ยืนยันการเริ่มต้นของเทรนด์ขึ้น โซน 3 เป็นส่วนสำคัญที่สุดสุดของรูปด้านล่าง นักลงทุนที่ไม่กล้าเสี่ยงบางคนก็ชอบที่จะซื้อเมื่อเกิดรูปแบบการยืนยัน พวกเขาจะซื้อเมื่อราคาได้ทะลุเส้นสีแดงขึ้นไป (เบอร์4) และตั้ง stoploss ที่ราคาต่ำกว่าราคาต่ำสุดของแท่งเทียนที่ทะลุเส้นแบนด์กลางลงไปได้ และอย่างที่เห็นคือราคาสามารถขึ้นไปได้อย่างแรง (ลูกศรสีแดงอันแรก) ในระหว่างนี้อาจจะมีแท่งเทียนสีแดงแต่ไม่นับว่าเป็นสัญญาณการกลับเทรนด์ ที่เบอร์ 5 ราคาลงไปทดสอบเส้นโบลิงเจอร์แบนด์กลาง จุดนี้คือการเริ่มต้นของคลื่นที่ 2 ตามหลักการนับคลื่นอีเลียตเวฟ ซึ่งเป็นที่ๆนักลงทุนบางคนรอการย่อลงมาเพื่อเข้าซื้อ 

Can you take a short position at #5 ? You can but you’d better not to do that. It is against the trend direction and when you see the price has been going up strongly and for a long time, you should ignore the first and even the second reversal signal. They are not reversal. They are continuation signals in fact.

ถ้าถามว่าณ จุดเบอร์ 5 สามารถเข้าชอตได้ไหม จุดเ้บอร์ 5 สามารถเข้าชอตได้แต่ไม่ควรชอต เพราะเป็นการชอตสวนเทรน และถ้าเห็นราคาที่ขึ้นอย่างแรงและต่อเนื่องเป็นเวลานานส่งสัญญาณกลับตัวในครั้งแรกอย่าไปสนใจ ถึงจะเกิดสัญญาณขึ้นสองครั้งก็ไม่ได้แปลว่าจะกลับตัว แต่เป็นสัญญาณต่อเนื่องต่างหาก
So the price goes down, retests the Bollinger Middle Band and it even succeeds to break down the middle band but keeps on going up again. As I have explained above, although it could break down the middle band we should not go short.

ดังนั้นถ้าราคาเกิดลงมาเทสแนวโบลิงเจอร์กลางและทะลุลงมาได้แต่มีความพยายามจะดีดกลับอีกครั้ง อย่างที่ได้บอกไว้ก่อนหน้านี้ว่าถึงจะทะลุลงมาได้ก็ไม่ควรชอต

It starts going up again (#6) and the next candles are all closed above the Bollinger Middle Band. Fibonacci can be a big help here. As you see at #7 and when it wants to break above the 100.0% level, it shows a bearish reaction but the next candle is closed above the Bollinger Middle Band and the next candle break up the 100.0% level (#8). We should expect that it breaks above the 161.80% level because it is a strong trend and as you see it can even reach the 261.80% level (#9) and break above it (#11).

ราคาเริ่มกลับขึ้นไปอีกครั้งที่เบอร์ 6 และเเท่งเทียนต่อไปปิดเหนือเส้นโบลิงเจอร์แบนด์กลาง ฟีโบนาซี่ก็จะเป็นตัวช่วยสำหรับกรณีนี้ อย่างที่เห็นที่เบอร์ 7 ราคาพยายามจะทะลุเส้นฟีโบที่ 100% ขึ้นไปและแสดงปฏิกิริยาหมีออกมา แต่แท่งเทียนปิดเหนือเส้นโบลิงเจอร์แบนด์และแท่งต่อมาปิดเหนือเส้นฟีโบ 100% (ที่เบอร์8) เราควรคาดหมายไว้ก่อนว่าจะทะลุเหนือเส้น 161.8% เพราะราคาแสดงให้เห็นเทรนด์ที่แข็งแกร่ง จากนั้นจึงไปแตะที่เส้น 261.8% (ที่เบอร์9) และทะลุได้ในภายหลัีง (เบอร์ 11)

Both when the uptrend is started seriously (#4) and when the 100.0% level is broken up (#8), candles touch and ride the Bollinger Upper Band. It is the same as when we have a downtrend. Candles touch and ride the Bollinger Lower Band.

ทั้งกรณีที่เทรนด์ขาขึ้นเริ่มอย่างจริงจัง (เบอร์4) และกรณีที่ราคาสามารถทะลุเส้น 100% ได้ (เบอร์8) แท่งเทียนแตะและวิ่งคลอไปกับเส้นโบลิงเจอร์แบนด์บน ก็เหมือนกับเทรนด์ขาลงที่แท่งเทียนแตะและวิ่งไปพร้อมๆกับเส้นโบลิงเจอร์แบนด์ล่าง

โพสต์รูปภาพ

2. Reversal Trading:
2. เทรดเมื่อเปลี่ยนเทรน

Bollinger Bands are great in showing the reversal signals too. Usually a nice reversal signal becomes formed when a candlestick breaks out of one of the Bollinger Upper or Lower Bands and then it is followed by another candle which has a different color. One of the best examples can be seen in the above image at #1. I am going to make the signal bigger and show it once again here:

ลัีกษณะของการเปลี่ยนเทรนที่แสดงรูปแบบชัดคือ แท่งเทียนขึ้นทะลุเส้นโบลิงเจอร์แบนด์บนหรือลงทะลุโบลิงเจอร์แบนด์ล่างแล้วตามด้วยแท่งเทียนสีตรงข้าม รูปด้านล่างนี้คือตัวอย่างตามรูปที่ 1 ที่ให้ดูไปแล้วนำมาขยายให้ดูชัดๆอีกครั้ง

โพสต์รูปภาพ

As you see the candlestick #1 which is a bearish candlestick is formed completely out of the Bollinger Lower Band and the next candlestick (#2) which is a bullish candlestick has covered the body and upper shadow and also most of the lower shadow of candlestick #1. These two candlesticks form a signal which is called Piercing Line. A Piercing Line which breaks out of the Bollinger Band is much much stronger. A Piercing Line is called Dark Cloud Cover when it happens at the top of a pick. I strongly recommend you to learn the candlestick signals.

แท่งเทียนเบอร์ 1 ซึ่งเป็นแท่งเทียนแสดงสภาวะลงของราคาทั้งแท่งอยู่นอกเส้นโบลิงเจอร์แบนด์ล่างตามมาด้วยแท่งเทียนเบอร์ 2 เป็นแท่งเทียนแสดงสภาะวะขึ้น ลักษณะของแท่งคือมีไส้เทียนด้านบนและไส้เทียนด้านล่างของแท่งเทียนปิดแท่งเทียนแรกแทบทั้งหมด แท่งเทียนสองแท่งนี้ก่อให้เป็นรูปแบบเรียก Piercing Line และรูปแบบ Piercing Line ที่สามารถทะลุโบลิงเจอร์แบนด์ไปได้จะเป็นแพทเทิร์นที่ชัดเจนมาก และ Piercing Line จะเรียกว่า Dark Cloud Cover เมื่อมันเกิดขึ้นที่ยอด ผู้เขียนแนะนำให้เรียนรู้เรื่องสัญญาณแท่งเทียนประกอบด้วย 

Here is some more reversal signals:

A long upper shadow that has broken out of the Bollinger Upper Band strongly

นี่คือสัญญาณการกลับตัวเพิ่มเติม
ไส้เทียนด้านบนยาวที่ทะลุออกจากเส้นโบลิงเจอร์แบนด์บนได้อย่างแรง



โพสต์รูปภาพ
Bullish Engulf
Note how both candlesticks broken out of the Bollinger Lower Band and how the second candlestick has covered the first one totally.

Bullish Engulf
ลองสังเกตุดูว่าแท่งเทียนทั้งสองแท่งทะลุออกจากเส้นโบลิงเจอร์แบนด์ล่างได้อย่างไรและแท่งเทียนแท่งที่สองสามารถคลอบคลุมแท่งเทียนแท่งแรกได้ทั้งหมด



โพสต์รูปภาพ
Dark Cloud Cover
Note how both candlesticks broken out of the Bollinger Upper Band and how the second candlestick has covered the first one.
Also look at the big upper shadow that the second candlestick has.

Dark Cloud Cover
สังเกตุการที่แท่งเทียนทั้งสองแท่งทะลุออกจากเส้นโบลิงเจอร์แบนด์ล่างได้อย่างไรและแท่งเทียนแท่งที่สองสามารถคลอบคลุมแท่งเทียนแท่งแรกได้ทั้งหมดโดยแท่งเทียนแท่งที่สองมีไส้เทียนด้านบนยาว


โพสต์รูปภาพ
False Signals:

We can always see some false signals. True signals are easier to catch because they are strong and obvious. A good trader is someone who can distinguish and avoid the false signals.

สัญญาณหลอก
สัญญาณจริงจะสามารถสังเกตุเห็นได้ง่ายเพราะจะมีความแรงและความชัดเจนประกอบกัน นักลงทุนที่ดีคือคนที่สามารถสังเกตเห็นสัญญาณหลอกและไม่โดนหลอกเพราะสัญญาณเหล่านั้น


There are false range breakouts and also false reversal signals. Those who like to trade reversals will be encountered with more false signals because a trend can be continued for a long time and it is not easy to say when a reversal happens. If you like to avoid being trapped by false reversal signals just ignore the very first two reversal signala when there is a strong trend. Of course if you really wait for a big and strong breakout and you don’t rush to take a position when you see a weak and partial breakout you will have less number of false reversal. For example some traders take a short position when they see the below signal but as you see this is not a strong signal in comparison to the signals I showed above:

สัญญาณหลอกมีทั้งการหลอกว่าการระเบิดเทรนด์และหลอกการเปลี่ยนเทรนด์ สำหรับคนที่เทรดโดยอาศัยการกลับตัวจะพบสัญญาณหลอกบ่อยครั้งเพราะเทรนสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องและเป็นระยะเวลานาน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะบอกว่าเมื่อไหร่มีการกลับตัว ถ้าไม่อยากตกหลุมพรางของสัญญาณการกลับตัวหลอกให้มองข้ามสัญญาณการกลับตัวแรกและสัญญาณที่สองสัญญาณแรกเมื่อเทรนชัดเจนและแรง ถ้าอยากรอการระเบิดที่ใหญ่และแรงอย่ารีบเข้าทำการซื้อขายเมื่อเห็นสัญญาณระเบิดที่อ่อนและไม่สมบูรณ์ ยกตัวอย่างเช่นนักลงทุนบางคนจะเข้าทำการชอตเมื่อเห็นสัญญาณด้านล่าง ซึ่งความแรงของสัญญาณน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับรูปด้านบน


โพสต์รูปภาพ

Why is the above signal a false signal?

1. The uptrend is a strong uptrend and this signal is the very first reversal signal. What do I mean by strong uptrend? Look at the uptrend slope. It is a sharp slope that is going up strongly. There is no sign of exhaustion in it yet. A trend should show the exhaustion signals to tell us that reversal is close.
2. Although about 50% of both #1 and #2 candlesticks are placed out of the Bollinger Upper Band, this can not be considered as a strong signal because

Both candles are not long enough and are relatively short candles.

They don’t have any big upper shadow that reflects the power of a downward pressure.

The second candle is very short and the first candle is not covered by it strongly.

Can you mention any more reason?

Here is two other examples for such a false reversal signal:

เพราะอะไรที่ทำให้รู้ว่าสัญญาณด้านบนเป็นสัญญาณหลอก
1. เทรนขาขึ้นมีความแรงและสัญญาณการเปลี่ยนเทรนด์เพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เทรนด์ขึ้นที่มีความแรงคือเทรนด์ขึ้นที่มีความชัดสูงอย่างมากยังไม่มีลักษณะของหมดแรงซื้อ เทรนค์ควรส่งสัญญาณการหมดแรงก่อนเป็นการบอกว่าการกลับตัวใกล้จะเกิดขึ้นแล้ว
2. ถึงแม้ว่ามากกว่า 50% ของแท่งเทียนที่ 1 และ 2 อยู่นอกเส้นโบลิงเจอร์แบนด์บนแต่ก็ไม่สามารถนับเป็นสัญญาณการกลับตัวที่แรงได้เพราะแท่งเทียนทั้งสองไม่ยาวพอและค่อนข้างสั้นด้วยซ้ำ
แท่งเทียนทั้งสองไม่มีไส้เทียนด้านบนที่ยาวที่แสดงถึงแรงขายที่มาก แท่งเทียนที่สองสั้นมากและไม่สามารถครอบคลุมแท่งเทียนแท่งแรกได้
ด้านล่างคือตัวอย่างอีกสองตัวอย่างของสัญญาณหลอก



โพสต์รูปภาพ

Can you say why those signals are false signals?

The third signal can be known as a relatively true signal because the uptrend is still strong. Look at the Bollinger Middle Band Slope (the first red arrow). So the trend is still strong and has not formed any sign of exhaustion when this relatively true signal was formed. However you could take a short position but you really had to get out when the continuation signals formed around the Bollinger Middle Band.

สัญญาณที่สามเป็นสัญญาณที่ถูกต้องเพราะเทรนด์ขึ้นยังคงแรงอยู่ ลองดูความชันของเส้นโบลิงเจอร์แบนด์บนที่ลูกศรสีแดง ดังนั้นเทรนด์จึงยังแรงอยู่และไม่มีลักษณะการหมดแรงเมื่อเกิดสัญญาณที่แท้จริง อย่างไรก็ตามการชอตสามารถทำได้แต่ต้องรีบทำการซื้อคืนเมื่อเกิดสัญญาณการขึ้นต่อเนื่องขึ้นที่บริเวณเส้นโบลิงเจอร์แบนด์กลาง

Now look at the below image and follow the numbers. Find out why some signals are false, some are true and some are continuation.

ทีนี้ลองดูรูปด้านล่างตามลำดับตัวเลขและหาคำตอบว่าทำไมสัญญาณบางอันจริง บางอันหลอก และบางอันเป็นสัญญาณต่อเนื่อง

โพสต์รูปภาพ

As you see Bollinger Middle Band works very well with continuation signals. In an uptrend, continuation signals are formed when the candles go down, retest the middle band and then start going up again. In a downtrend, continuation signals are formed when the candles go up, retest the middle band and then start going down again. Taking the continuation signals are much safer than reversal signals unless you make sure that the trend is really close to reverse.

อย่างที่เ็ห็นว่าเส้นโบลิงเจอร์แบนด์กลางจะทำงานคู่กันดีกับสัญญาณต่อเนื่อง ในเทรนด์ขึ้น สัญญาณต่อเนื่องจะเกิดเมื่อแท่งเทียนลงมาทดสอบเส้นโบลิงเจอร์แบนด์กลางและสามารถขึ้นไปต่อได้
ในเทรนด์ลง สัญญาณต่อเนื่องคือเมื่อเเท่งเทียนขึ้นไปทดสอบเส้นโบลิงเจอร์แบนด์กลางและกลับลงต่อ การซื้อขายตามสัญญาณต่อเนื่องจะปลอดภัยกว่าการซื้อขายตามสัญญาณการเปลี่ยนทิศ นอกจากจะมั่นใจว่าใกล้จะกลับทิศทางแล้ว 


Ok! Hope you find this article useful for your trades. If you have any question please use the below comment form. Thanks!

ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อนักลงทุนถ้ามีคำถามสามารถทิ้งไว้ได้ในส่วนที่แสดงความเห็นด้านล่างลิงค์

ที่มา
http://www.forexoma....-stock-trading/